จากบทความก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง กิจกรรมการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำแผนกลยุทธ์ขององค์การไปวางกลยทุธ์ของงานทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งจะต้องจัดดทำเป็นแผนงาน ( Action plan)   ซึ่งในฉบับนี้จะลงรายละเอียดของแผนงานแต่ละแผนกของงานทรัพยากรมนุษย์  พร้อมยกตัวอย่างมาเป็นที่เข้าใจให้มากขึ้น   การเขียนแผนและโครงการจากกลยุทธ์หลักที่ได้กำหนดไว้ทั้ง 3 ข้อ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างในหัวข้อแรก คือ  การพัฒนาทักษะ ความสามารถของพนักงาน เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยดำเนินการกระจายให้กับ แผนก HRD เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ แผนงานและโครงการ ตามตัวอย่างแผนภาพด้านล่าง

job process

kpi hr

จากแผนภาพข้างต้นเป็นการเขียนแผนงานและโครงการ ตามกลยุทธ์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนงาน พร้อมตัวชี้วัด ดั่งที่ผู้เขียนเคยยกเหตุผลกล่าวอ้างเมื่อฉบับที่แล้วว่า การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) เช่น จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรม บางครั้งวัดที่งานสำเร็จอาจจะไม่สื่อหรือไม่สะท้อนให้เห็นภาพขององค์การชัดเลยก็ได้ เหมือนวัดที่งานเสร็จแต่แท้ที่จริงแล้วงานอาจจะไม่สำเร็จก็ได้   ฉะนั้นการวัดผลที่แท้จริงจะต้องทำให้ KPI นั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ จึงจะประสบความสำเร็จแบบยั่งยืน   ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของการวัดผล(Result- based Era)ด้วยแล้ว จำเป็นต้องกำหนดตัวชี้วัดให้มีความสอดคล้องกับองค์การตัวชี้วัดที่นิยมใช้กันแบบใหม่ก็คือ      Key Quality Indicators (KQIs)    ตัวอย่าง KPI ของการฝึกอบรมที่มีการวัดเรื่อง ของชั่วโมงฝึกอบรมของพนักงานของแต่ละปี เป็น  KPIs แต่อาจจะไม่เป็น  KQIs   ฉะนั้นการกำหนดของการฝึกอบรมจึงควรให้มีการเป้าหมายไปที่  การลด Competency gap ของพนักงาน ลง 20 % ในแต่ละปีเข้าไปด้วย ก็จะทำให้ตัวชี้วัดของการฝึกอบรมดูมีคุณภาพยิ่งขึ้น และตัวชี้วัดขององค์การที่มองภาพรวมมากยิ่งขึ้นคือ การเพิ่ม Productivity ของพนักงานมากกว่า  100,000 บาท/เดือน   ซึ่งการเพิ่ม Productivity ของพนักงานองค์การควรมาใส่ใจเรื่องการพัฒนาทักษะของพนักงานให้มีทักษะเพิ่มขึ้นทุกปี จึงจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือเข้ามาช่วยบริหารจัดการองค์การ เช่น Competency, BSC, Performance Management System เป็นต้น

เมื่อทางแผนก HRDได้ดำเนินการเขียนแผนและกำหนดตัวชี้วัดเสร็จเรียบร้อยแล้วจะไปสู่ขั้นตอนของการปฏิบัติตามแผนงานต่อไป    การปฏิบัติตามแผน  (Program Implementation) เป็นการกำหนดแผนงานระยะสั้นและระยะยาวขององค์การด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยผู้บริหารระดับสูงต้องขอความร่วมมือของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับแผนงานดังกล่าวว่ามีการแสดงความต้องการทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระบุจำนวนที่ต้องการ ความรู้ ความสามารถ และประเภทของความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเป็นสำคัญ  ซึ่งทางฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะได้รวบรวมความต้องการทั้งหมด พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของคนในองค์การ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขแผนกลยุทธ์ ได้ทันความต้องการขององค์การได้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการติดตามการปฏิบัติตามแผนงาน ตามแผนภาพด้านล่าง

Annual plan

เมื่อผู้บริหารกำหนดการติดตาม การปฏิบัติตามแผนงานตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว ผู้ที่จะเป็นผู้คอยตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนหรือไม่นั้น ในอันดับแรกต้องเป็นผู้รับผิดชอบในหน้าที่งานนั้นๆ และลำดับถัดมาก็จะเป็นผู้ดูแลสายงานเป็นกำกับดูแลให้เป็นตามแผนใหญ่ของกลยุทธ์ในภาพรวมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในการดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน บางหน่วยงานอาจจะมีการติดตามเป็นประจำทุกเดือน หรือประจำไตรมาส ก็สามารถกระทำได้เช่นกัน

 

การประเมินผลและแผนงาน (Program Evaluation) โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดหวังไปสู่ความต้องการที่คาดหวัง การประเมินผลแผนงานทรัพยากรมนุษย์ก็เพื่อจะพิจารณาว่าการปฏิบัติงานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ดำเนินกิจกรรมไป ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่  ซึ่งองค์การโดยส่วนใหญ่จะมีการทบทวนแผนกลางปี  ถ้ากรณีที่ล้มเหลวก็ควรจะมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในช่วงครึ่งปีหลัง ต่อไป  ว่าสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้วก็ต้องรักษามาตรฐานเอาไว้ สำหรับในส่วนที่ต้องปรับปรุง ทีมต้องดำเนินการประชุมหาข้อสรุป เพื่อปรับทบทวนแผนให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้น   สำหรับแผนภาพด้านบนที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติตามแผนงานของแต่ละเดือน ซึ่งท้ายสุดจะมีช่องที่เป็นแถบสีที่เป็นสัญญาลักษณ์แสดงว่าแผนนั้นสำเร็จได้เท่ากับเป้าหมาย จะปรากฎออกเป็น สีฟ้า  และถ้าแผนงานสำเร็จเกินกว่าเป้าหมายจะปรากฎออกเป็น สีเขียว   และแผนงานที่ไม่ประสบความสำเร็จที่ได้ต่ำกว่าเป้าหมายจะปรากฎออกมาเป็น สีแดง   เป็นต้น จะทำให้ผู้บริหารสามารถมาโฟกัสแผนที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ใกล้ชิดขึ้น

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นกิจกรรมการ วางแผนทรัพยากรมนุษย์โดยคร่าวๆ การที่จะให้แผนกลยุทธ์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้น  ผู้เขียนขอเสริม  HRM Goals ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก   5 H: Heart (ร่วมใจ) Hand (ร่วมมือ)  Head (ร่วมคิด) Health (ร่วมสุข) Hope (ร่วมฝัน)    จะต้องประกอบด้วยผู้นำทีมงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจุดประกาย  การร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน มีการประสานงานร่วมกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว ต้องร่วมฉลอง ร่วมมีความสุขด้วยกัน เพื่อที่จะสานฝันเกิดแรงกระตุ้นให้ประสบความสำเร็จในอนาคตยิ่ง ๆขึ้นไป

ดร. กฤติน กุลเพ็ง                

“ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์ในการทำงานในเครือซิเมนต์ไทยมา 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้าน Human Resource Management มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน”