บทบาทของหน่วยงาน HR  ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์  จากเมื่อยุคก่อน  หน่วยงาน HR จะทำตัวเหมือนกับตำรวจค่อนตรวจตราว่าพนักงานมีการกระทำความผิด กฎเกณฑ์ของบริษัทหรือไม่  ซึ่งเมื่อยุคสมัยก่อน  นายจ้างมาฝากความหวังไว้ที่หน่วยงาน HR เพื่อช่วยตรวจสอบความผิดปกติของพนักงาน  ก็อาจจะเป็นช่วงในเวลาดังกล่าว งานที่ทำค่อนข้างหายาก  ลูกจ้างอยากได้งานทำที่มีเงินเดือน  จึงค่อนข้างเป็นส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีข้อต่อรองที่สูงกว่า  จึงสามารถใช้วิธีดังกล่าวได้  แต่เมื่อเวลาผ่านไป  เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู  มีบริษัทเกิดขึ้นมากมาย จากสังคมที่มีนายจ้างเป็นผู้มีอำนาจสูงกว่า  เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมจากเดิม โดยที่ข้อต่อรองตกไปที่ ลูกจ้าง เพราะมีบริษัทเกิดขึ้น ได้มีตัวเลือกที่หลากหลาย  มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน  ซื้อตัวกันเกิดขึ้น โดยเฉพาะลูกจ้างที่มีศัยกภาพ  จึงทำให้นายจ้างโดยเฉพาะเจ้าของบริษัท  เริ่มมีการปรับบทบาทตัวเองมากขึ้น โดยคิดค้นว่าวิธีไหนที่จะรักษาพนักงานของตนเอง ให้ได้อยู่ภายในองค์กรได้นาน ๆ  ซึ่งบางแห่งใช้วิธีการ ถ้าพนักงานคนใดอยู่องค์กรนานๆ เกิน 20 ปี บริษัทจะจัดพิธีมอบเหรียญทองคำหนัก 2 บาท  ให้กับพนักงาน  เพื่อเป็นการจูงใจพนักงานที่จะตัดสินใจลาออกไปอยู่ที่อื่น ได้เริ่มพิจารณาว่าจะปรับเปลี่ยนงานหรือไม่ แต่ก็อยากลืมว่าการปรับสวัสดิการเช่นนี้  แต่ละองค์กรก็มีการเอาอย่างกัน  เมื่อองค์กรข้างเคียงมีสวัสดิการลักษณะนี้ได้  ก็เสนอผู้บริหารให้มีบ้าง  ก็ทำให้แทบทุกองค์กรมีสวัสดิการที่คล้ายๆ กัน  เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่ปฏิบัติงานภายในองค์กร

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่องค์กรได้ปรับเปลี่ยนสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้ทำให้พนักงานหรือลูกจ้างได้เปลี่ยนใจอยู่องค์กรสักเท่าใดนัก  จึงหาวิธีใหม่ที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี  อยู่กับองค์กรแห่งนี้แล้วมีความสุขและได้ความรู้ด้วย จึงให้หน่วยงาน HR มีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เป็นครู/อาจารย์ ช่วยสอนสั่งพนักงาน  ถ้าไม่มีความรู้ ก็หาผู้รู้มาช่วยสอน ทำความเข้าใจให้กับพนักงาน

chaning-role-hr-jpg

 

จะเห็นได้ว่า บทบาทของหน่วยงาน HR  เปลี่ยนมาเป็นผู้คอยให้คำแนะนำพนักงานเพิ่มมากขึ้น  โดยเปลี่ยนจากบทบาทตัวเอง จากนายอำนาจ มาเป็น นายอำนวย เพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานภายในองค์กร ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไรขึ้น  ก็สามารถขึ้นมาปรึกษากับหน่วยงาน HR  เพื่อจะได้คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ แก้ปัญหาให้กับพนักงานได้  ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานได้มีที่พึ่ง  และตัดสินใจที่อยู่ภายในองค์กร เพราะพนักงานคิดว่า องค์กรแห่งนี้ เป็นบ้านหลังที่สอง ที่จะฝากชีวิตเอาไว้ เพราะดูแลความเป็นอยู่เปรียบเสมือน พี่น้อง มากกว่า นายจ้างและลูกจ้าง  แนวความคิดลักษณะเช่นนี้  จึงได้นำมาปลูกฝังให้ระดับผู้บริหารองค์กรที่เป็น หัวหน้า/ผู้จัดการด้วย ให้มีการดูแลพนักงาน ให้คำปรึกษา ให้การสอนงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการมุ่งเน้นไปทางด้านจิตใจเสียมากกว่า การให้ตอบแทนเรื่องเงินและสวัสดิการ  ซึ่งในเชิงทฤษฎีแล้ว  การให้สิ่งที่ไม่ใช่ตัวเงินแก่พนักงาน  จะได้ผลดีกว่า  ให้ในสิ่งที่เป็นตัวเงิน  คือการให้ความรัก จะยั่งยืนกว่า การให้เป็นตัวเงินนั่นเอง